ชีวิต ของ ชาริ ฟอบส์

ฟอบส์เกิดใน ค.ศ. 1977[1] ที่บรีวอร์รีนา ครอบครัวของเธอเป็นชาวไร่ที่มีสัตว์ตายเป็นประจำ เธอสำเร็จการศึกษาที่ไฮสกูลหญิงฮอร์นสบีในซิดนีย์[2] ปริญญาแรกของเธออยู่ในสาขาเคมีประยุกต์และนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงเธอได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์[3]

ใน ค.ศ. 2005 เธอได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยรัฐออนแทรีโอ กระทั่งใน ค.ศ. 2011 เธอได้ออกไปรับตำแหน่งงานที่ประเทศออสเตรเลีย[4] โดยเธอได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์[3]

จนถึง ค.ศ. 2018 เธอได้มีส่วนร่วมในการสร้างสถานที่เพื่อการวิจัยทดลองซากของออสเตรเลีย (ฟาร์มศพแห่งแรกของประเทศออสเตรเลีย)[4] ซึ่งเธอได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยซากศพที่เน่าเปื่อย[5] ฟาร์มศพเป็นสถานที่การวิจัยที่สามารถศึกษาการเน่าเปื่อยได้ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งฟาร์มแห่งแรกได้รับการทำให้เกิดขึ้นโดยวิลเลียม เอ็ม. เบส ใน ค.ศ. 1971 ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซีเพื่อศึกษาการสลายตัวของศพมนุษย์ตั้งแต่เสียชีวิตจนถึงเวลาที่สลายตัว[6][7]

ใน ค.ศ. 2018 เธอได้รับตำแหน่งประธานการวิจัยของแคนาดา 150 ในสาขามรณวิทยา โครงการวิจัยเจ็ดปีของเธอจะมีเงิน 350,000 ดอลลาร์ต่อปี และมหาวิทยาลัยจะจ่าย (350,000 ดอลลาร์)[4] ให้แก่ฟาร์มศพแห่งแรกของประเทศแคนาดา ส่วนสถานที่คล้ายกันที่ใกล้ที่สุดคือแห่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นมิชิแกน แต่ฟอบส์ตั้งเป้าไปที่พื้นที่ป่าโดยเฉพาะ[4] "ฟาร์มศพ" แห่งใหม่อยู่ที่เบกองกูร์ และชื่อที่ถูกต้องคือ "สถานรับรองสำหรับการวิจัยทางมรณวิทยา"[8]

ทั้งนี้ ฟอบส์เป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาริ ฟอบส์ http://id.loc.gov/authorities/names/n2016187187.ht... //doi.org/10.1093%2Fbiosci%2Fbix046 //www.worldcat.org/issn/0006-3568 //www.worldcat.org/issn/1189-9417 https://www.smh.com.au/national/nsw/lunch-with-new... https://www.uts.edu.au/staff/shari.forbes https://www.royalsoc.org.au/about-us/fellows https://www.cbc.ca/radio/asithappens/as-it-happens... https://academic.oup.com/bioscience/article/67/7/6... https://www.researcherid.com/rid/I-4507-2014